ใบกระท่อม กับข้อสงสัยว่ามีสรรพคุณทางยาหรือยาเสพติด

กระท่อม

เมื่อไม่นานที่ผ่านมานี่เอง ใบกระท่อม ที่เคยถูกให้ขึ้นบัญชียาเสพติดประเภทที่ 5 แต่ปัจจุบันนี้ทางกฎหมายก็ได้ทำการปลดล็อคจากการเป็นยาเสพติดเป็นที่เรียบร้อยอย่างเป็นทางการแล้ว ซึ่งหลายๆคนก็คงจะได้เห็นมาแล้ว ในทุกๆที่มีมาเป็นเวลานาน และวันนี้เราจะพามารู้จักกับ ใบกระท่อม กันให้มากขึ้น เราจะมาดูกันว่า มันจะมีประโยชน์อย่างไรบ้าง ที่จริงแล้วใบกระท่อมมีมาตั้งแต่สมัยโบราณ และมีสรรพคุณทางยา และในต่างประเทศเองก็ใช้ประโยชน์เป็นยากันมาอย่างเสรีเป็นเวลานาน ดังนั้นในการประกาศถอนกระท่อมให้ออกจากการเป็นสารเสพติดประเภทที่ 5 จึงมีผู้คนจำนวนมากให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่ง ทั้งในเรื่องของการที่จะส่งเสริมให้เป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศ และเรื่องการวิจัยเพื่อนำมาทำเป็นยารักษาโรค อย่างนั้นไม่รอช้า เราไปดูกันเลยว่า กระท่อมนั้นมีประโยชน์อย่างไรกับสุขภาพของเราบ้าง

กระท่อม สรรพคุณทางยามีอะไรบ้าง

ใบกระท่อม

สารสำคัญที่พบในใบกระท่อม คือ Mitragynine, Speciogynine, Paynantheine, Speciociliatine ซึ่งบางส่วนออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท แต่ถึงอย่างนั้นกระท่อมก็มีสรรพคุณทางยาอยู่ไม่น้อย ซึ่งหากใช้ในปริมาณที่เหมาะสมก็ช่วยบรรเทาอาการไม่สบายได้ ตามนี้

-สามารถรัษาอาการของโรคติดเชื้อในลำได้ อย่างเช่น ท้องร่วงท้องเสีย ในตำราโบราณนั้นได้บอกไว้ว่า ใบกระท่อมสด หรือ ใบแห้ง นั้น จะเคี้ยว สูบ หรือจะชงกับน้ำร้อนดื่ม ก็สามารถช่วยในการรักษาโครลำไส้ได้

-ช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยของกล้ามเนื้อ นอกจากจะช่วยเรื่องโรคต่างๆแล้วนั้น กระท่อมเองก็มีสรรพคุณที่สามมรถลดอาการปวดของกล้ามเนื้อได้ โดยการใช้กระท่อมในปริมาณที่ต่ำ จะทำให้ฤทธิ์ของกระท่อมช่วยกดความรู้สึกปวดเมื่อยให้ร่างกายได้ และยังช่วยให้ทำงานได้นานขึ้น

-ช่วยบำรุงกำลัง ถ้าหากใครเคยกินหรือเคยเคี้ยวก็คงจะรู้สรรพคุณทางด้านนี้ดี ที่ กระท่อมนั้นจะช่วยให้เราทำงานได้นานขึ้น ซึ่งจะเรียกว่ากระท่อมเป็นยาโด๊ปก็ไม่ผิดเท่าไหร่ เพราะพืชชนิดนี้นั้นมีการออกฤทิ์เพิ่มพละกำลังและกระตุ้นร่างกายให้อดทนต่องานหนักๆ ทนแดดได้ นอกจากจะหายปวดเมื่อยแล้วยังทำให้กล้ามเนื้อของเรานั้นทำงานอึดขึ้นอีก คำเตือน ต้องใช้ในประมาณต่ำนะ ซึ่งมีผลศึกษาของบริษัทแห่งหนึ่งได้ได้ทดลองใช้ใบกระท่อมในกลุ่มชายวัยกลางคน 30 คน ที่ทำงานหนัก โดยให้เคี้ยวใบกระท่อมสด 3-10 ครั้งต่อวัน ในปริมาณ 2-3 ใบต่อครั้ง เป็นเวลานานกว่า 5 ปี และพบว่า ใบกระท่อมกระตุ้นการทำงานและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้จริง และผลกระตุ้นจะเกิดภายใน 5-10 นาที ทว่าก็พบอาการไม่พึงประสงค์ในกลุ่มอาสาสมัครด้วย เช่น ปากแห้ง ท้องผูก ผิวคล้ำ เบื่ออาหาร และน้ำหนักลด

-สามารถแก้ปวดได้ดีกว่ามอร์ฟีน ในใบกระท่อมนั้นมีสารสำคัญที่มีชื่อว่า ไมทราไจนีน (Mitragynine) ซึ่งสารตัวนี้นั้นสามารถพบในกระท่อมได้สูงถึง 66% โดยสารชนิดนี้เป็นสารจำพวกอัลคาลอยด์ ออกฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง (CNS depressant) เช่นเดียวกับยาเสพติดกลุ่ม LSD และยาบ้า จึกมีฤทธิ์ที่ช่วยระงับความเจ็บปวดได้ กระตุ้นความรู้สึกเคลิ้มสุข ทำให้ง่วงซึม และนอกจากนี้ยังพบสาร เซเว่นไฮดร็อกซีไมทราไจนีน (7-hydroxymitragynine) ซึ่งเป็นสารระงับความเจ็บปวด (Antinociceptive) ในหนู Mice ได้ดีกว่ามอร์ฟีนถึง 13 เท่า ซึ่งการศึกษานี้ทำให้รู้อีกว่า กระท่อมให้ผลข้างน้อยกว่ามอร์ฟีนในหลายๆอย่าง เช่น การทำงานของระบบหายใจ ไม่คลื่นไส้ อาเจีย หากขาดหรือหยุดใช้ความทรมานนั้นก็นั้นกว่ามอร์ฟีน ซึ่งบำบัดง่ายกว่ายากล่อมประสาทอีกด้วย

กระท่อมรักษาโรคอะไรได้บ้าง

ใบกระท่อมแปรรูป

นอกจากการออกฤทธ์ในทางเภสัชวิทยาที่กล่าวไปข้างต้นแล้วนั้น ก็ยังมีข้อสงสัยเกี่ยวกับสรรพคุณทางยาของใบกระท่อมอีกมากมาย เช่น

กระท่อมจะช่วยในการลดความดันได้ไหม

ไมทราไจนีน (Mitragynine) ซึ่งสามารถพบได้ในบใกระท่อม จะมีฤทธิ์ในการช่วยขยายหลอดเลือด จึงสามารถช่วยลดความดันในโลหิตและสร้างความผ่อนคลายได้ ทั้งนี้ในตำรายาโบราณนั้นก็ได้บอกไว้ว่าสามารถใช้ลดความดันโลหิตได้

กระท่อมช่วยรักษาโรคเบาหวานได้ไหม

ถ้าเราไปดูตำรายาโบราณของไทยนั้นจะเห็นได้ว่า มีการนำกระท่อมมาช่วยในการรักษาโรคเบาหวานได้มาอย่างช้านาน โดยให้นำใบกระท่อมที่แกะก้านใบออกมา เคี้ยว แล้วคายกากออก หลังจากนั้นก็ดื่มน้ำตาม ส่วนการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาต่อระบบทางเดินอาหารในหนูทดลองก็พบว่า สารสกัดเมทานอลจากใบกระท่อมช่วยเพิ่มการดูดกลับของน้ำตาลกลูโคส ซึ่งอาจใช้สรรพคุณนี้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้โดยไม่ต้องเกี่ยวข้องกับการทำงานของอินซูลิน แต่ว่าการจะใช้ใบกระท่อมเป็นยารักษาเบาหวานในคนยังคงต้องศึกษาถึงผลดี-ผลเสีย รวมถึงการควบคุมประสิทธิภาพตัวยาและความคุ้มค่าในกระบวนการผลิตยาด้วย

ใบกระท่อมลดความอ้วนได้ไหม

การเคี้ยวใบกระท่อมจะทำให้รู้สึกไม่อยากอาหาร ไม่รู้สึกหิว และทำให้กระปรี้กระเปร่า กดความรู้สึกเมื่อยล้าขณะทำงาน ทว่าก็ยังไม่มีการใช้ใบกระท่อมลดความอ้วนแต่อย่างใด เนื่องจากการใช้ใบกระท่อมในปริมาณที่มากเกินไปอาจทำให้เสพติดและเกิดอาการข้างเคียงไม่พึงประสงค์ได้ และจริง ๆ ก็มีวิธีลดน้ำหนักอื่น ๆ ที่เห็นผลและยั่งยืนกว่าด้วย

ใบกระท่อมถูกกฎหมายหรือยัง

ใบกระท่อมสด

แม้ในต่างประเทศกระท่อมจะไม่ผิดกฎหมายควบคุม แต่ในไทย กระท่อมได้ถูกจัดเป็นยาเสพติดประเภท 5 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 กระทั่งเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2564 ราชกิจจานุเบกษา ประกาศให้ใบกระท่อมไม่ใช่ยาเสพติดอีกต่อไป และมีผลบังคับใช้เมื่อพ้นกำหนด 90 วัน นับตั้งแต่มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา

นั่นหมายความว่า ตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2564 เป็นต้นไป กระท่อมจะถูกปลดล็อก ซึ่งการปลดล็อกกระท่อมที่ว่า หมายถึงปลดล็อกเฉพาะพืชกระท่อมในส่วนต้น ราก ใบ ดอก เมล็ดเท่านั้น โดยสามารถเคี้ยวใบกินได้ บริโภคได้ในลักษณะของสมุนไพร

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ทำไม่ได้และผิดกฎหมายแน่นอนก็คือ การนำกระท่อมไปผสมสูตรต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นสารเสพติด เช่น ต้มผสมยาแก้ไอ เครื่องดื่มชูกำลัง หรือน้ำอัดลม เพราะถือว่าเป็นการผลิตสารเสพติดให้โทษ และมีความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พูดง่าย ๆ ว่าถูกจับกุมดำเนินคดีได้เลย

อย่างไรก็ตาม แม้กฎหมายมีผลบังคับใช้แล้ว ก็ยังไม่ควรนำกระท่อมไปใช้เองเพื่อหวังผลการรักษาโรคนะคะ เพราะอาจได้รับผลข้างเคียงและเป็นอันตรายได้หากใช้ไม่ถูกวิธี จึงควรรอให้มีการนำสรรพคุณของกระท่อมไปศึกษาวิจัยและต่อยอดเป็นยารักษาโรคในอนาคต ซึ่งการปลดล็อกครั้งนี้น่าจะเป็นความหวังใหม่ทางการแพทย์ในเร็ววัน ติดตามรายระเอียดต่างๆได้ที่เว็บ enjoytored ได้กันเลยนะคะ